เมนู

อรรถกถาแสดงอกุศลวิบาก


เบื้องหน้าแต่โลกุตรวิบากนี้ต่อไป เป็นอกุศลวิบากจิต 7 ดวง เหล่านี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
รวม 5 ดวง มโนธาตุ 1 ดวง และมโนวิญญาณธาตุ 1 ดวง โดยพระบาลี
และอรรถกถาเหมือนกับกุศลวิบากจิตตามที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.
จริงอยู่ กุศลวิบากเหล่านั้นมีกรรมเป็นปัจจัยอย่างเดียว อกุศลวิบาก
เหล่านี้ ก็มีกรรมเป็นปัจจัย.
อนึ่ง กุศลวิบากเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์
และอิฏฐมัชฌัตตารมณ์. อกุศลวิบากเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในอนิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์.
อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยสุข. แต่ใน
อกุศลวิบากเหล่านี้ กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยทุกข์.
อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา
ย่อมให้ผลในฐานทั้ง 5 เริ่มต้นแต่ปฏิสนธิของคนตาบอดแต่กำเนิดเป็นต้นใน
พวกมนุษย์. แต่ในอกุศลวิบากเท่านี้ เมื่ออกุศลจิต 11 อย่าง1 ประกอบ
กรรมไว้แล้ว ก็ทำกรรมนิมิต และคตินิมิตทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็น
อารมณ์แล้ว ย่อมให้ผลในฐานะทั้ง 5 อย่างนี้ คือ
1. ให้ผลปฏิสนธิในอบาย 4
2. ให้ผลเป็นภวังคตลอดอายุตั้งแต่วาระที่สอง2
1. เว้นโมหมูลจิตสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
2. วาระแรก ได้แก่ ปฏิสนธิกาล

3. ให้ผลเป็นสันติรณะในปัญจวิญญาณวิถีในอนิฏฐารมณ์ และ
อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์
4. ให้ผลเป็นตทารัมมณะในทวาร 6 ในอารมณ์มีกำลัง
5. ให้ผลเป็นจุติจิตในมรณกาล.
จบกถาว่าด้วยอกุศลวิบาก

กามาวจรกิริยา


[482] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[483] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 3
ผัสสะ 1 ฯลฯ มโนธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ